top of page
 ...แรกเริ่มเดิมทีตอนที่ผมศึกษาเรื่องดาวพระเคราะห์เสวยอายุของท่าน อ.พลูหลวง...

      ...ในตอนนั้น ...

...[ พ.ศ.๒๕๓๘ ] ผมเห็นว่าถ้าตอนเวลาดูดวงชาตาคน ถ้าเราต้องดูจากตารางวัย ...

...จะรู้สึกว่ายุ่งยากมากอยู่พอสมควร...

...ผมนั่งมองตารางวัยไปเพลินๆ ชั่วภายใน ๑ - ๒ วินาทีในสมองผมก็แว๊บมาว่า ตรงจุดข้อต่อ...

ระหว่างวัยดาว ๖ [ราศีตุลย์ ] จะไปวัยดาว ๓ [ราศีพฤศจิก ] มีข้อต่อในวัย ดาว ๒ และราหู [โลก ]...

ถ้าเวลาคนมาดูดวงเรามองจากดวงชาตาของผู้มาดู และนับวัยไปพร้อมกัน จะเร็วกว่าดูตารางแน่นอนก็เลยเช็คว่า..อยู่ในวัยดาวอะไร และดาวอะไรเสวย จากวิธีนี้ปรากฏว่า work และรวดเร็วกว่ามาก สามารถดูวัยไปในระหว่างดูดวงชาตาได้ควบคู่กันไป...

 

 

 

...ในเวลาต่อมา...ขณะที่กำลังอ่านหนังสือท่าน อ.พลูหลวงอยู่ ในสมองก็แว๊บมาเหมือนเดิม...

ในเวลา ๑ - ๒ วินาที ว่า ในเมื่อนับวัยจากการดูที่ดวงชาตาได้แล้ว ถ้านับเป็นในแบบระบบทักษา

...ก็น่าจะทำได้...

...พอคิดได้ ผมก็รีบหยิบปากกาและกระดาษมาในทันที ลองเขียนเป็นแบบ ๘ ตัวเหมือนทักษาทั่วๆไป...

ปรากฏว่าไม่ลงตัว ก็ลองเขียนเพิ่มดาวเนปจูนกับดาวพลูโต รวมเป็น ๑๐ ดวง...

...เบ็ดเสร็จเรียบร้อยลงตัวพอดี...

.

                                                             ...ผมก็เลยเผยแพร่ปรากฏมาเป็นภาพดังที่ได้เห็น กันนี่แหละครับ...

 

เรื่องการค้นคว้า

 

วิธีการนับวัยทั้ง ๒

...ถ้าผู้ที่ถนัดในทางดูที่ดวงชาตา

ก็ให้ใช้ระบบดูที่ดวงชาตาก็จะเห็น

ดาวเสวยและดาวแทรกได้ชัดเจน...

 

...ถ้าผู้ที่ถนัดในทางทักษาก็ให้ใช้

ดูจากระบบทักษะ ก็จะสามารถดูได้

อย่างรวดเร็วเช่นกัน...

 

                     ...ดวงมาตราฐาน...

 

...เป็นดวงมาตราฐานที่นักเรียนโหราศาสตร์ต้องจดจำให้ได้เป็นอันดับแรก...

...เพราะเป็นพื้นฐานในการดูดวงชาตา...

...จะได้รู้ตำแหน่งดีหรือตำแหน่งร้ายของดวงดาวในราศีจักร...

...เมื่อเห็นตำแหน่งดาวในดวงชาตาก็จะสามารถวิเคราะห์ผลดี-ผลเสียได้...

...จึงนับได้ว่า...ดวงมาตราฐาน...มีความสำคัญอันดับแรกของการดูดวง...

 

 

 

bottom of page